เมนู

กรุงสาวัตถีราชธานี ถึงความเจริญไพบูลย์มั่งคั่ง
รุ่งเรื่อง น่าระรื่นใจ ดังกรุงอาฬกมันทาเทพธานีของ
เหล่าทวยเทพ ฉะนั้น.

ใกล้กรุงสาวัตถีนั้น คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.
คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำแสดงความพร้อมด้วยวิหารการอยู่ บรรดา
อิริยาบถวิหาร ทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร แบบใดแบบทนึ่ง
โดยไม่แปลกกัน แต่ในพระสูตรนี้ แสดงความประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถ.
วิหาร ในบรรดาอิริยาบถต่างโดยยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถหนึ่ง. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี ทรงดำเนินก็ดี ประทับนั่งก็ดี
บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า วิหรติ อยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น ทรงตัดความลำบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง
[เปลี่ยนอิริยาบถ] ทรงบริหารอัตภาพให้เป็นไปไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่า วิหรติ ประทับอยู่.

แก้อรรถบท เชตวเน


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เชตวเน นี้ ดังนี้. พระราชกุมารชื่อว่า
เชตะ เพราะชนะชนผู้เป็นศัตรูของตน หรือว่า เชตะ เพราะประสูติ เมื่อ
พระราชาทรงชนะชนผู้เป็นศัตรู หรือว่า ชื่อว่า เชตะ แม้เพราะพระราชา
ทรงขนานพระนามอย่างนี้แก่พระราชกุมาร เพราะมีพระราชประสงค์จะให้เป็น
มงคล. ที่ชื่อว่า วนะ เพราะให้คบหา อธิบายว่า ให้ทำความภักดีแก่ตน
เพราะความถึงพร้อมแห่งตน คือให้เกิดความรักในตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วนะ เพราะเรียกร้อง อธิบายว่า ประหนึ่งว่า วอนขอสัตว์ทั้งหลายว่า เชิญ
มาใช้สอยเราเถิด. วนะของเชตราชกุมาร ชื่อว่า เชตวัน. จริงอยู่ เชตวัน